“ท่องเที่ยว”ดันกิจกรรม “ซิตี้รัน”กระตุ้นความคึกคักทางเศรษฐกิจ นำร่อง 5 เมืองใหญ่ ก่อนเปิดประเทศช่วงปลายปี

ททท.จัดกิจกรรม “ซิตี้รัน…มันส์ฟันเว่อร์” ส่งท้ายไตรมาสแรกของปี สุดประทับใจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ ปลื้มกระแสซิตี้รันพุ่ง มีผู้มาร่วมกิจกรรมทะลุเป้าเกิน 13,000 คน มั่นใจเดินถูกทาง มอบนโยบายให้ ททท. จัดกิจกรรมปลุกกระแสการท่องเที่ยวเชิงกีฬาเพิ่มเติมทั้ง 4 ภาค หวังกระตุ้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวไทยต่อเนื่อง ก่อนเปิดประเทศช่วง ต.ค. 2564 นี้ ด้านรองผู้ว่าททท.ขานรับเตรียมตั้งคณะทำงานศึกษาข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อไป เบื้องต้นคาดใช้ 5 เมืองยุทธศาสตร์หลัก จ.ภูเก็ต จ.เชียงใหม่ จ.กระบี่ พัทยา สมุย หวังปั้นเป็นกิจกรรมกระตุ้นกระแสท่องเที่ยวเชิงกีฬารูปแบบใหม่ คาดมีผู้ร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าครึ่งแสนคน

เช้าวันนี้ (4 เม.ย. 64) ณ เสาชิงช้า กรุงเทพ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, นายเขมพล อุ้ยตยะกุล เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), นางทิพวรรณ นิธิเจษฎาวงศ์ ผู้อำนวยการมิชลินไกด์ ประเทศไทย, นายกอบเกียรติ แสงวนิชย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทยแลนด์ไตรลีก ผู้จัดงานฯ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร, เหล่านักวิ่งจากชมรมวิ่งทั่วกรุงเทพฯ และสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก

เดินทางมาเพื่อมาร่วมในกิจกรรมวิ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬารูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ “อะเมซิ่งไทยแลนด์ ซิตี้รัน…มันส์ฟันเว่อร์” ที่ถูกจัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เดือนพ.ย. 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นสัปดาห์สุดท้ายของกิจกรรม คณะผู้จัดงานจึงได้เชิญ ฯพณฯ รัฐมนตรีฯ , คณะผู้บริหารกระทรวงฯ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย มาร่วมวิ่งในวันสุดท้าย

โดยคณะได้เริ่มวิ่งจากเสาชิงช้า เพื่อไปเก็บคะแนนในจุดเช็คพ้อยท์ตลอดเส้นทาง อาทิ ลานคนเมือง กรุงเทพมหานครฯ, ถนนกัลยาณ-ไมตรี (กระทรวงกลาโหม), สะพานปีกุน โดยระหว่างทาง รัฐมนตรีฯ ยังได้แวะทักทายร้านอาหารชื่อดังที่ได้รับการรับรองจาก “มิชลิน ไกด์” เช่น ร้านแซ่พุ้น, ร้าน ก.พานิช ก่อนที่จะมาแวะรับประทานอาหารเช้าที่ ร้านยี่ สับ หลก ร้านอาหารชื่อดังในย่านดังกล่าว และยังมีการมอบของที่ระลึกเป็นกำลังใจให้แก่ร้านชื่อดังทั้ง 3 ร้านอีกด้วย

“กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหนึ่งในกระทรวงหลัก ที่มีหน้าที่เตรียมความพร้อมในการเปิดรับกลุ่มนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขด้านการสาธารณสุข ที่ต้องระมัดระวังขั้นสูงสุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่สามารถเกิดขึ้นภายในประเทศได้อีกเป็นระลอก ดังนั้น การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ภายในประเทศ จึงต้องถูกคิดให้ดี และมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งทางด้านการสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจควบคู่กันไป”

กิจกรรมวิ่งถือเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่จะช่วยให้เกิดการหมุนเวียนในภาคเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น อีกทั้ง ยังทำให้เกิดกระแสการเดินทางมาท่องเที่ยวข้ามภูมิภาคได้เป็นอย่างดี เห็นได้จากความสำเร็จของการจัดมาราธอนที่บุรีรัมย์ ที่สามารถดำเนินการไปได้อย่างคู่ขนานไปกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิค-19 มีประชาชนเดินทางไปร่วมแข่งขันถึง 20,000 คน ถือเป็นตัวอย่างที่ดี และสร้างความมั่นใจในการบริหารงานด้านการท่องเที่ยวและสาธารณสุขของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

“ขอแสดงความชื่นชนกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ที่กล้าออกมาจัดกิจกรรมนำร่องในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่อยู่ในขั้นวิกฤตในช่วงปลายปี 63 ที่ผ่านมา โดยสามารถจัดงานออกมาได้ดี มีการป้องกันตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขในทุกขั้นตอน จนทำให้ประชาชนทั่วไป และเหล่านักวิ่งเป็นจำนวนมากออกมาร่วมในกิจกรรม ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมนำร่องให้ส่วนภูมิภาคต่าง ๆ นำเอาโมเดลของการจัดงานแบบนี้ไปใช้ได้ วันนี้ตนได้สั่งการกับรองผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้จัดทำโครงการวิ่งซิตี้รัน ในรูปแบบนี้ โดยให้ไปจัดในภาคต่าง ๆ ทั้ง 4 ภาค โดยให้แนวคิดคร่าว ๆ ว่าจากเมืองกรุงสู่เมืองรอง ตั้งเป้าว่าจะมีประชาชนที่ชื่นชอบในสุขภาพโดยเฉพาะการวิ่งมาร่วมในโครงการ 1 แสนคน” นายพิพัฒน์ กล่าว

น.ส.ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า กิจกรรม ซิตี้รัน…มันส์ฟันเว่อร์” ถือเป็นกิจกรรมที่มีจุดขายของตัวเอง เพราะนอกจากจะสามารถดึงดูดให้ประชาชน นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยหรือชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศไทย ให้ความสนใจและออกมาร่วมกิจกรรมทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ของทุก ๆ สัปดาห์แล้ว ยังก่อให้เกิดการใช้สอยขึ้น เพราะระหว่างทางทุกคนต้องแวะซื้อน้ำ แวะทานอาหาร ซึ่งถือว่านอกจากจะช่วยให้ประชาชนเกิดสุขภาพที่ดี แข็งแรงและปลอดภัยโรคภัยไข้เจ็บแล้ว ยังเป็นการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

“ตนจะตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อศึกษาถึงรายละเอียดต่าง ๆ ในการนำเอากิจกรรม “อะเมซิ่งไทแลนด์…ซิตี้รัน” ไปจัดในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ แล้วจะรีบนำมาเสนอท่านรัฐมนตรีฯ ต่อไป คิดว่าจะนำไปจัดที่จังหวัดที่คณะรัฐมนตรีฯ เพิ่งประกาศให้ใช้เป็น AREA QUARANTINE คือ จังหวัดภูเก็ต, เชียงใหม่, จังหวัดกระบี่, เมืองพัทยา และเกาะสมุย คาดว่าจะสามารถจัดได้ในช่วงไตรมาศที่ 3 (เดือนก,ค.-ก.ย.) เพื่อใช้เป็นกิจกรรมสร้างกระแสความตื่นตัวด้านการท่องเที่ยวโดยใช้กิจกรรมกีฬาเป็นเครื่องมือ ตั้งเป้าหมายว่าจะมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 50,000 คน ก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก” รองผู้ว่าฯ ททท. กล่าว

เรื่องวิ่งเรื่องกินเรื่องเที่ยวเรื่องเดียวกัน #AmazingthailandCityRun

MichelinGuideThailand #cityrun #สนุกทุกเส้นทางในเมืองกรุง #มันส์ฟันเวอ #michelin #วิ่งไปกินไป #amazingthailand

แก้ไขกฎกระทรวง กำหนดความคงทนอาคารในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว บังคับ 43 จังหวัด เพื่อความปลอดภัยของปชช.

นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.๓) กล่าวว่า จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ได้ส่งผลความเปลี่ยนแปลงของลักษณะพื้นที่ในเชิงกายภาพหลายพื้นที่ ตลอดจนได้มีการค้นพบพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวเพิ่มเติมในหลายจังหวัด จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไข กฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความคงทนของอาคาร และพื้นที่ดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้มีความทันสมัยและมีความปลอดภัยแก่ประชาชนในการเข้าใช้อาคารมากยิ่งขึ้น

นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงมหาดไทยโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ดำเนินการปรับปรุงกฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคาร และพื้นที่ดินรองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนที่ 16 วันที่ 4 มีนาคม 2564 มีพลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ลงนาม เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 โดยกฎกระทรวงนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป สาระสำคัญของกฎกระทรวงฉบับนี้ กำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวเป็น 3 บริเวณ รวม 43 จังหวัด คือ

บริเวณที่ 1 พื้นที่เฝ้าระวัง เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่า อาคารอาจได้รับผลกระทบด้านความมั่นคงแข็งแรงและเสถียรภาพ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว รวม 14 จังหวัด ได้แก่

จังหวัดกระบี่
จังหวัดชุมพร
จังหวัดตรัง
จังหวัดนครพนม
จังหวัดนครศรีธรรมราช
จังหวัดบึงกาฬ
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
จังหวัดพิษณุโลก
จังหวัดเพชรบุรี
จังหวัดเลย
จังหวัดสงขลา
จังหวัดสตูล
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
และจังหวัดหนองคาย

บริเวณที่ 2 บริเวณที่มีความเป็นไปได้ว่า อาคารอาจได้รับผลกระทบทางด้านความมั่นคงแข็งแรง และเสถียรภาพในระดับปานกลาง เมื่อเกิดแผ่นดินไหว รวม 17 จังหวัด ได้แก่

กรุงเทพมหานคร
จังหวัดกำแพงเพชร
จังหวัดชัยนาท
จังหวัดนครปฐม
จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดนนทบุรี
จังหวัดปทุมธานี
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
จังหวัดพังงา
จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดระนอง
จังหวัดราชบุรี
จังหวัดสมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดสุพรรณบุรี
และจังหวัดอุทัยธานี

บริเวณที่ 3 บริเวณหรือพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ว่า อาคารอาจได้รับผลกระทบทางด้านความมั่นคงแข็งแรงและเสถียรภาพในระดับสูง เมื่อเกิดแผ่นดินไหว รวม 12 จังหวัด ได้แก่

จังหวัดกาญจนบุรี
จังหวัดเชียงราย
จังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดตาก
จังหวัดน่าน
จังหวัดพะเยา
จังหวัดแพร่
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดลำปาง
จังหวัดลำพูน
จังหวัดสุโขทัย
และจังหวัดอุตรดิตถ์

ทั้งนี้ กำหนดรายละเอียดอาคารประเภทต่างๆ จำแนกตามบริเวณที่มีความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวแตกต่างกันข้างต้น และกำหนดให้การอออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคารแต่ละประเภท ต้องคำนวณให้อาคารสามารถรับแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวได้ไม่ต่ำกว่าที่รัฐมนตรีกำหนด โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมอาคาร.

เตรียมเปิดงาน Private Launch ครั้งแรก กับโครงการ “ศศรา หัวหิน” พร้อมกิจกรรมสนุกรับสงกรานต์

หลังจากทุ่มบริหารโครงการทิวทะเลเวิลด์ ชะอำ-หัวหิน จนประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ล่าสุด ผู้บริหารหนุ่ม “ปลาทู-ดิฐวัฒน์ อิสสระ” เตรียมลุยโปรเจคใหม่ภายใต้ชื่อ ศศรา หัวหิน (SASARA Hua Hin) ลักชัวรี่ บีช ฟร้อน เรสซิเดนซ์ บนทำเลริมชายหาดเขาตะเกียบ ภายใต้แนวคิด “The Art Of Escape” ดึงศิลปะเข้ามาผสมผสานการออกแบบที่อยู่อาศัย พร้อมชูจุดเด่นโครงการด้วยทำเลที่มีความเป็นส่วนตัวสูง อีกทั้งยังสามารถเล่นกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมากมาย ให้ครอบครัวได้มาร่วมเติมเต็มความสุขในวันพักผ่อน เตรียมเปิด Private Launch ครั้งแรก รับส่วนลดสุดพิเศษ เฉพาะสงกรานต์นี้เท่านั้น 10-18 เม.ย. 64 นี้ ในราคาเริ่มต้นเพียง 5.5 ล้านบาท

พร้อมโปรโมชั่นสุดพิเศษอีกมากมาย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถแวะมาเยี่ยมชมได้ ณ Sales Gallery โครงการ ศศรา หัวหิน หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 062 514 7888, Line : @sasarahuahin และ http://www.sasarahuahin.com

‘สิงห์ เอสเตท’เปิดแคมเปญ“ฃ ขวดคืนค่า”ตั้งตู้ RVM รีไซเคิลขวดพลาสติก ชวนลูกบ้านส่งต่อคุณค่าสู่สังคม

สิงห์ เอสเตท หนึ่งในบริษัทพัฒนาและลงทุนอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทยเปิดตัวโครงการ “ฃ ขวด คืนค่า”ติดตั้งเครื่องรับคืนขวดพลาสติกใสPET พร้อมเครื่องแลกของรางวัล โดยเปิดตัวแห่งแรกที่โครงการThe ESSE Sukhumvit 36 (ดิ เอส สุขุมวิท 36) เพื่อรับขวดพลาสติกคืนและนำเข้าสู่กระบวนการจัดการขยะพลาสติกอย่างเหมาะสมหลังเปิดทดลอง 1 เดือน ได้ขวดแล้วมากกว่า 1,000 ขวด

นายณัฐวุฒิ มัธยมจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการพัฒนาธุรกิจพักอาศัย บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมุ่งเน้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกบ้านและคำนึงถึงผลกระทบจากปัญหาขยะในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการ “ฃ ขวด คืนค่า”ที่ติดตั้งตู้รีไซเคิลขวดพลาสติก หรือ RVM (Reverse Vending Machine) เพื่อส่งเสริมให้ลูกบ้านในโครงการThe ESSE เกิดความเข้าใจในการแยกขวด PET ออกจากขยะประเภทอื่นๆโดยพลาสติกที่ได้จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลต่อไป

โดยตู้ RVM จะเป็นตู้รับคืนขวดพลาสติก เมื่อนำขวดใส่เข้าไปในตู้แล้ว จะมีกระบวนการบีบอัดเพื่อลดขนาดของขวดเพื่อนำไปรีไซเคิล นอกจากนี้ ทุกครั้งที่มีการคืนขวดที่ตู้ RVM ลูกบ้านจะได้รับคะแนนสะสมและเปลี่ยนคะแนน เพื่อสนับสนุนถุงแดงให้กับหน่วยงานภาครัฐ สำหรับนำไปใช้ประโยชน์ด้านการดู แลและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 หรือสะสมคะแนนเพื่อนำไปแลกเป็นของรางวัลอื่นๆ ได้ที่เครื่องแลกของรางวัล เช่น น้ำดื่มสิงห์ เจลล้างมือ และถุงผ้ารักษ์โลก ทั้งนี้ขวดพลาสติกที่รับคืนจะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลจึงช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมที่ยั่งยืน

สิงห์ เอสเตท มีเป้าหมายในการผลักดันการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างยั่งยืน และสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าของวัสดุรีไซเคิล รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริโภคคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งขวด PET เพื่อช่วยลดขยะพลาสติกและสร้างคุณค่าให้กับวัสดุ เพราะปัจจุบันปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาระดับชาติ โดยในแต่ละปีคนไทยทั้งประเทศทิ้งขยะรวมกันมากกว่า 27 ล้านตัน ซึ่งเฉพาะในกรุงเทพฯ มีปริมาณมากถึง 1 ใน 5 ของทั้งหมด นอกจากนี้จากสถิติของไทยรัฐออนไลน์เกี่ยวกับขยะในปี 2563 พบว่ามีขยะไหลผ่านปากแม่น้ำลงอ่าวไทยรวมกว่า 25,741 ชิ้นต่อวัน หรือกว่าปีละ 9,395,000 ชิ้น การจัดการขยะพลาสติกอย่างถูกต้อง จึงเป็นประเด็นเร่งด่วนการจัดการขยะพลาสติกหรือขวด PET จะผ่านกระบวนการคืนรูปโพลีเมอร์ หรือ Repolymerization ที่ทำให้พลาสติกสามารถนำมาหมุนเวียนรีไซเคิลซ้ำได้สูงสุดถึง100 ครั้ง ดังนั้น การแยกขวด PET เพื่อนำไปรีไซเคิลจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางสำคัญที่ช่วยไขปัญหาขยะได้” นายณัฐวุฒิ กล่าว

ปัจจุบัน โครงการ “ฃ ขวด คืนค่า” เริ่มต้นแล้ว โดยในระยะแรกจะติดตั้งตู้ RVM รับคืนขวดพลาสติกและตู้แลกของรางวัลที่โครงการ The ESSE Sukhumvit 36 ซึ่งเป็นคอนโดมีเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี ภายใต้แนวคิด A Harmony of Contrast ในทำเลติดรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีทองหล่อ โดยทดลองติดตั้งมาแล้วประมาณ 1 เดือน ซึ่งได้รับขวดสำหรับรีไซเคิลแล้วมากกว่า 1,000 ขวด ทั้งนี้ บริษัทมีเป้าหมายที่จะติดตั้งตู้ RVM ในทุกโครงการของ The ESSEในอนาคต